วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเสี่ยงเซียมซี

เซียมซี
“เซียม” แปลว่า กระดาษแผ่นเล็ก ๆ ยาว ๆ
“ซี”  แปลว่า บทกลอน
เมื่อรวมกันแล้ว ก็หมายถึง คำกลอนบนกระดาษแผ่นเล็ก ๆ
แต่บางแห่งสันนิษฐานว่า เพี้ยนมาจาก “เซียนซือ” ซึ่งหมายถึง
ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ หรือผู้ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์
บางแห่ง “เซียม” หมายถึง ไม้ติ้วเสี่ยงทาย
“ซี” หมายถึง โคลงกลอน โดยรวมจึงหมายถึง โคลงกลอนบนไม้ติ้วที่เสี่ยงทาย
เซียมซี ถือเป็นโหราศาสตร์เก่าแก่แขนงหนึ่ง  ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเข้ามาในเมืองไทยพร้อมกับชาวจีนที่อพยพเข้ามาทำมาหากินในบ้านเรา  อนุมานจากการมี ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี อันเป็นศาลที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้น พ.ศ.2116 
เซียมซี น่าจะมีอายุมากกว่า 400 ปีมาแล้ว ต่อมาใน ร.๕ ที่วัดกัลยาณมิตร ที่ฝั่งธนบุรี ได้พบหลักฐานว่า มีการแปลเซียมซีจากภาษาจีน ให้เป็นไทย โดย นายเปลี่ยน แซ่ซ้อง
“ไม้ปวย”  อันเป็นไม้เสี่ยงทาย อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นไม้นูนโค้ง รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งจะมีอยู่ 2 อันประกบกัน และมักวางไว้ ณ แท่นบูชา

ไม้ปวย นี้ จะเป็นเสมือนสิ่งที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้เสี่ยงทายกับเทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ที่นั้น ๆ
กล่าว คือ เมื่อเสี่ยงเซียมซีได้หมายเลขใดแล้ว บางคนก็อยากรู้ว่า เซียมซีที่ได้นั้นใช่หรือไม่ใช่ของเรา ก็จะใช้ไม้ปวย เสี่ยงทายอีกครั้ง

ไม่ปวย , ไม้แชปวย
วิธีเสี่ยงทาย ไม้ปวยเพื่อยืนยันเซียมซีที่ได้ ให้วางไม้ติ้วนั้นบนพื้นก่อน จากนั้นให้ถือไม้ปวยประกบคู่กัน แล้วอธิษฐานถามต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระประธาน องค์เดียวที่เราขอเสี่ยงเซียมซีว่า

หมายเลขที่ได้นี้ เป็นของเราหรือไม่  โดยให้โยนไม้ขึ้นเหนือศีรษะ เมื่อไม้ตกลงมากับพื้น ให้ดูว่า ไม้ออกมาในรูปใด
คว่ำทั้งคู่  จะมีความหมายว่า ไม่ใช่ ให้เสี่ยงทายใหม่
หงายทั้งคู่  หมายถึง ไม่มีความเห็น ให้ตัดสินใจเอง แต่ในการเสี่ยงเซียมซีหากออกมาในลักษณะนี้ ให้เสี่ยงใหม่
คว่ำอัน หงายอัน  หมายถึง ใช่ คือ เป็นใบที่ท่านประทานมาให้
ไม้ปวยนี้ บางคนใช้อธิษฐานในแต่ละเรื่อง โดยไม่ต้องเสี่ยงเซียมซีก็ได้
เคล็ดลับในการเสี่ยงไม้ปวย บอกว่า ให้เสี่ยงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งคำถาม แต่อนุโลมให้โยนได้ไม่เกิน 3 ครั้ง  ถ้ายังไม่ได้ตามที่ต้องการ ภายในหนึ่งชั่วธูปที่จุดถวาย ห้ามเสี่ยงอีก ต้องรอจนธูปหมด ค่อยจุดแล้วถามใหม่

หากเป็นเรื่องสำคัญ ต้องรอไปอีก 3 วัน จึงจะถามใหม่ในเรื่องเดิมได้ และไม่ควรกำหนดลักษณะไม้ปวยเป็นอย่างอื่น นอกเหนือจาก 3 แบบที่กล่าวข้างต้น เช่น ไม่ให้กำหนดว่า ถ้าสิ่งที่ขอสำเร็จ ขอให้ไม้ปวยออกมาหงายสองอัน เพราะเขาถือว่า เป็นการยื่นเงื่อนไขต่อองค์เทพหรือสิ่งที่เรานับถือ เป็นการบังคับ ไม่สมควรกระทำ

หากจะพูดว่า “เซียมซี” เป็นเหมือน ลิขิตสวรรค์ ที่บอกกล่าวโชคชะตาให้แก่ผู้เสี่ยงทายคงไม่ผิดนัก  เพราะการเสี่ยงเซียมซีไม่ว่าจะอยู่ที่วัด ศาลเจ้า สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือแม้แต่การเสี่ยงออนไลน์ ผู้ขอจะต้องน้อมจิตรำลึกถึงเทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนยึดถือเป็นที่พึ่งในขณะนั้น แล้วค่อยเสี่ยงทาย  เป็นการสื่อสารเพื่อขอคำตอบจากเบื้องบน

“เซียมซี” จึงถือได้ว่า เป็นที่พึ่งทางใจ และช่วยแก้ปัญหาชีวิตของคนเราได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งคำตอบที่เป็นคำทำนายนี้  หากออกมาดี ผู้เสี่ยงทายก็มักยินดี และมีกำลังใจมากขึ้น แต่หากออกมาทางร้าย ก็เป็นการเตือนทางอ้อมให้ผู้เสี่ยงทายต้องระมัดระวังตัวในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคำทำนายในใบเซียมซีจะดีหรือร้าย ก็เป็นการพยากรณ์ถึงอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ที่สำคัญคือ  หากเราปฏิบัติตนดี ทำแต่กรรมดี เป็นเหตุในวันนี้  ผลที่เกิดในวันหน้าย่อมดีตามแน่นอน  เพราะไม่ว่ากรรมดี กรรมชั่ว ก็ล้วนเป็นตัวเราที่เลือกทำเอง จึงต้องรับเองทั้งสิ้น

เพลง เซียมซีเสี่ยงรัก - สมยศ ทัศนพันธ์


เพลง  เซียมซีเสี่ยงรัก
ศิลปิน  สมยศ ทัศนพันธ์
เซียมซีเสี่ยงรักทักทำนายว่า
ใบที่เก้านั่นหนาชีวิตเกิดมาเหมือนฟ้ามืดมน
สูญสิ้นความหวังกระทั่งคนรัก อับ จน
ขาดชู้ราหูเข้าดล จำทนเศร้าหมองมิคลาย
เซียมซีที่หวังคงขลังดังว่า เธอจึงไม่เมตตา
ยามทุกข์โศกมาร้างลามลาย
หลงสู้ถนอมยอมมอบชีวิต เคียง กาย
แต่แล้วก็ยังไม่วาย กลับกลายดวงใจร้างลา
สองมือพนม สุดจะน้อมก้มกราบขอ
หวังใจให้จ้าวพ่อ เซียมซีจงมีเมตตา
ช่วยดลใจเขา เฝ้ารักคงมั่นอุรา
ให้ คืน กลับมาสมเป็นแก้วตาดวงเดียวแท้จริง
เซียมซีแผ่นนี้แม้นเป็นของใคร
คงจะกลุ้มจิตใจยามรักจากไปเขาคงประวิง
เหมือนดั่งความฝันเรามั่นคอยรัก แอบ อิง
ผิดพลั้งยังมาทนนิ่ง ไม่จริงดังคำสัญญา
สองมือพนม สุดจะน้อมก้มกราบขอ
หวังใจให้จ้าวพ่อ เซียมซีจงมีเมตตา
ช่วยดลใจเขา เฝ้ารักคงมั่นอุรา
ให้ คืน กลับมาสมเป็นแก้วตาดวงเดียวแท้จริง
..เซียมซีแผ่นนี้แม้นเป็นของใคร
คงจะกลุ้มจิตใจยามรักจากไปเขาคงประวิง
เหมือนดั่งความฝันเรามั่นคอยรัก แอบ อิง
ผิดพลั้งยังมาทนนิ่ง ไม่จริงดังคำสัญญา

เซียมซีตามวัดหรือตามศาลเจ้า มีกำเนิดหรือที่มาอย่างไร

กิจกรรมหนึ่งสำหรับคนที่ชอบไปบนบานศาลกล่าวตามศาลเจ้าหรือวัด คือการเสี่ยงเซียมซีทำนายโชคชะตา ว่ากันว่าเซียมซีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นั้นแม่นนัก
เซียมซี หมายถึงใบแจ้งผลการเสี่ยงทายเขียนเป็นคำกลอนคนที่เสี่ยงเซียมซีจะสั่นกระบอกติ้วจนติ้วหลุดจากกระบอก ๑ อัน  ดูว่าไม้ติ้วนั้นมีเลขอะไรกำกับ แล้วไปเลือกเอาใบเซียมซีหมายเลขนั้นมาอ่าน  ในบางที่เช่นศาลเจ้าจีน  การเสี่ยงเซียมซีอาจไม่ได้จบลงแค่นั้น แต่เมื่อได้ติ้วมาแล้ว จะต้องเสี่ยงไม้ปวยประกอบด้วย ว่าติ้วเซียมซีนั้นเป็นของตนหรือไม่ โดยการโยนไม้ปวย ซึ่งเป็นไม้ทรงพระจันทร์เสี้ยวขนาดเท่ากัน ๒ อัน ไม้ปวยต้องคว่ำอันหนึ่ง หงายอันหนึ่ง ติ้วเซียมซีที่เสี่ยงได้จึงเป็นของตน  ถ้าไม้ปวยหงายหรือคว่ำทั้ง ๒ อัน ก็จะต้องเริ่มสั่นกระบอกติ้วใหม่
เซียมซีอาจจัดเป็นวรรณกรรมได้ประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นในประเทศจีนไม่น้อยว่า ๑,๐๐๐ ปี ในสมัยราชวงศ์ซ้อง แล้วแพร่เข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คงมีขึ้นในศาลเจ้าของคนจีนก่อน  และใบเซียมซีก็เขียนเป็นภาษาจีน ต่อมาใบเซียมซีจึงได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในรูปร้อยกรองประมาณ ๔-๖ บทต่อใบ มีหลักฐานว่านายเปลี่ยน  แซ่ซ้อง ได้แปลใบเซียมซีภาษาจีนเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕

ในเวลาต่อมา ใบเซียมซีจีนก็ได้รับการแปลเป็นหลายสำนวนโดยกวีนิรนาม  รูปแบบการแต่งเซียมซีมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับชะตาชีวิต โชคลาภ ความรัก ความเจ็บไข้ ลูกหนี้ คดีความ บุตร ของสูญหาย การพบปะญาติมิตรใบเซียมซีหนึ่งชุดมีราว ๒๘ - ๓๖ ใบ จัดสัดส่วนเป็น ๔ ประเภท  คือ มีใบเซียมซีลักษณะดีมาก ๑ - ๒ ใบ  ดี ๘ - ๙  ใบ  ดีปานกลาง  ๙ - ๑๐ ใบ และไม่ดีประมาณ ๘ - ๙ใบ

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเสี่ยงเซียมซี มีความเป็นมาอย่างไร

กิจกรรมหนึ่งสำหรับคนที่ชอบไปบนบานศาลกล่าวตามศาลเจ้าหรือวัด คือการเสี่ยงเซียมซีทำนายโชคชะตา ว่ากันว่าเซียมซีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นั้นแม่นนัก  เซียมซี หมายถึงใบแจ้งผลการเสี่ยงทายเขียนเป็นคำกลอนคนที่เสี่ยงเซียมซีจะสั่นกระบอกติ้วจนติ้วหลุดจากกระบอก ๑ อัน  ดูว่าไม้ติ้วนั้นมีเลขอะไรกำกับ แล้วไปเลือกเอาใบเซียมซีหมายเลขนั้นมาอ่าน 

ในบางที่เช่นศาลเจ้าจีน  การเสี่ยงเซียมซีอาจไม่ได้จบลงแค่นั้น แต่เมื่อได้ติ้วมาแล้ว จะต้องเสี่ยงไม้ปวยประกอบด้วย ว่าติ้วเซียมซีนั้นเป็นของตนหรือไม่ โดยการโยนไม้ปวย ซึ่งเป็นไม้ทรงพระจันทร์เสี้ยวขนาดเท่ากัน ๒ อัน ไม้ปวยต้องคว่ำอันหนึ่ง หงายอันหนึ่ง ติ้วเซียมซีที่เสี่ยงได้จึงเป็นของตน  ถ้าไม้ปวยหงายหรือคว่ำทั้ง ๒ อัน ก็จะต้องเริ่มสั่นกระบอกติ้วใหม่

เซียมซีอาจจัดเป็นวรรณกรรมได้ประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นในประเทศจีนไม่น้อยว่า ๑,๐๐๐ ปี ในสมัยราชวงศ์ซ้อง แล้วแพร่เข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คงมีขึ้นในศาลเจ้าของคนจีนก่อน  และใบเซียมซีก็เขียนเป็นภาษาจีน ต่อมาใบเซียมซีจึงได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในรูปร้อยกรองประมาณ ๔-๖ บทต่อใบ มีหลักฐานว่านายเปลี่ยน  แซ่ซ้อง ได้แปลใบเซียมซีภาษาจีนเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕

ในเวลาต่อมา ใบเซียมซีจีนก็ได้รับการแปลเป็นหลายสำนวนโดยกวีนิรนาม  รูปแบบการแต่งเซียมซีมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับชะตาชีวิต โชคลาภ ความรัก ความเจ็บไข้ ลูกหนี้ คดีความ บุตร ของสูญหาย การพบปะญาติมิตรใบเซียมซีหนึ่งชุดมีราว ๒๘ - ๓๖ ใบ จัดส่วนเป็น ๔ ประเภท  คือ มีใบเซียมซีลักษณะดีมาก ๑ - ๒ ใบ  ดี ๘ - ๙  ใบ  ดีปานกลาง  ๙ - ๑๐ ใบ และไม่ดีประมาณ ๘ - ๙ ใบ
“ข้อมูล จากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

เซียมซีวัดพระธาตุดอยสุเทพ

วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชาวเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมาช้านาน หากมาที่จังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังไม่ได้มายังวัดพระธาตุดอยสุเทพเพื่อสักการะ ก็เหมือนยังมาไม่ถึงเชียงใหม่เลยทีเดียว

ก่อนที่จะไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพ สิ่งที่เหล่านักเดินทางจะลืมไม่ได้ก็คือ แวะสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัย เป็นผู้ที่ชวนให้ชาวเหนือร่วมใจกันสร้างถนนจากเชิงดอยขึ้นไปสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ

วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนดอยสุเทพที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตรทีเดียว การที่จะขึ้นไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพนั้น สามารถเดินขึ้นบันไดนาคประมาณ 185 ขั้น หรือจะนั่งรถรางไฟฟ้าไปก็ได้ ค่าบริการ 20 บาท พระธาตุดอยสุเทพเป็นเจดีย์ทรงเชียงแสนฐานสูง ย่อมุม ทรงระฆังแบบแปดเหลี่ยม ทั้งองค์มีสีทองอร่าม เป็นพระธาตุประจำนักษัตรมะแม ดังนั้นถ้าท่านใดเกิดปีมะแมอย่าพลาดที่จะได้ไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพที่วัดพระธาตุดอยสุเทพเพื่อเป็นสิริมงคล

เซียมซีวัดพระธาตุดอยสุเทพ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ

มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า การตั้งเมืองนั้นต้องมีหลักเพื่อความเป็นเสถียรภาพและความมั่นคง เปรียบกับชีวิตของเราก็คงไม่ต่างกัน มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อการก้าวไปอย่างมั่นคง และสุขสมหวัง เมื่อใดก็ตามที่ได้ไปกราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายนั้น เราจึงมักจะอธิษฐานขอพรให้ชีวิตมีแต่ความมั่นคงในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านครอบครัว หน้าที่การงาน การเงิน หรือว่าความรัก โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการะด้วยความศรัทธาและความเชื่อในด้านของการขอพระเพื่อให้ชีวิตมีความมั่นคงนั้น ย่อมมีผู้กล่าวถึงศาลหลักเมือง ที่กรุงเทพฯ เป็นอันดับแรก

ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานพระหลักเมือง ซึ่งตั้งตระหง่านเป็นหลักชัยให้พระนครมาตั้งแต่ครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีพระราชพิธีฝังเสาพระหลักเมือง ตามความเชื่อแห่งโบราณราชประเพณี

ในการตั้งศาลหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ยังมีเรื่องซึ่งเป็นตำนานเล่าขานอันเก่าแก่ถึงสี่ผู้เสียสละที่ยอดสังเวยชีวิตไว้ที่ก้นหลุมของเสาหลักเมือง คือ นายอิน นายจัน นายมั่น และนายคง ที่ยอมเป็นวิญญาณเพื่อคอยอารักษ์เมือง นอกจากนี้ในบริเวณศาลหลักเมืองยังเป็นที่สถิตของหอเทพารักษ์ อันเป็นที่ประดิษฐานแห่งเทวดาสำคัญทั้งห้าผู้คุ้มครองพระนคร คือ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลองซึ่งพระมหากษัตริย์และประชาชนให้ความเคารพอย่างไม่เสื่อมคลายมาแต่ครั้งอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
วันและเวลาเปิด – ปิด
เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
สถานที่ตั้ง
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสนามหลวง ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวัง ถ.สนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ความเชื่อและวิธีการบูชา

เชื่อว่าหากผู้ใดได้มาขอพรอันศักดิ์สิทธิ์จากศาลหลักเมืองนี้แล้ว เปรียบประดุจได้เสริมหลักความมั่นคงให้กับชีวิตเหมือนตัดเคราะห์ ต่อดวงชะตา จะมีแต่ความสงบสุข ส่งเสริมวาสนาบารมี ประสบความสำเร็จในสัมมาอาชีพจนถึงหลักชัยในชีวิต ให้สักการะด้วยธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ทองคำเปลว ดอกบัว 2 ดอก พวงมาลัย 2 พวง ผ้าแพร 3 สี 1 ชุด ควรเริ่มจากการไหว้พระที่หอพระพุทธรูปก่อน แล้วปิดทอง ผูกผ้าแพรที่องค์พระหลักเมืองจำลอง นำพวงมาลัยไปถวายหลักเมืององค์จริง แล้วจึงไปถวายพวงมาลัยองค์เทพารักษ์ทั้ง 5 พร้อมทั้งเติมน้ำมันพระประจำวันเกิด ภายในศาลจะมีการ “ยกพระเสี่ยงทาย” ให้อธิษฐานถึงวิ่งที่หวัง ยกพระเสี่ยงทาย 2 ครั้ง ครั้งแรกตั้งจิตมั่นว่าถ้าทำสำเร็จ ขอให้ยกพระขึ้น ครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นถ้าสำเร็จ ขอให้ยกพระไม่ขึ้น เชื่อว่าหากเป็นไปตามที่อธิษฐานทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่าสิ่งที่ขอไว้จะสำเร็จตามปรารถนา
คาถาบูชาองค์พระหลักเมือง
(ท่องนะโม 3 จบ) ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ
เซียมซีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ

เคล็ดน่ารู้ การเสี่ยงเซียมซี

การเสี่ยงเซียมซีเป็นโหราศาสตร์อันเก่าแก่แขนงหนึ่ง โดยนำมาเขียนเป็นบทร้อยกรองเพื่อให้จดจำได้ง่าย เซียม แปลว่าแผ่น กระดาษแผ่นเล็กๆ ยาวๆ ซี แปลว่าบทกลอน เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า บทกลอนที่บอกโชคชะตาบนแผ่นกระดาษ เข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีนไม่น้อยกว่า ๑ พันปี

เคล็ดน่ารู้ การเสี่ยงเซียมซี

1. ให้ตั้งจิตอธิฐานต่อเทพเจ้า  หรือสิ่งศักดิ์ที่เราจะอาศัยบารมีท่านถามถึงอนาคตของเราก่อน บอกให้สามโลกรับรู้ขอเปิดผ้า เปิดชะตาทำนายดวงให้เราด้วย

2. เมื่อตั้งจิตแล้วให้เลือกคำถามที่จะถามเป็นข้อๆ ไม่ใช่อย่างที่หลายท่านได้กระทำกัน คือ เสี่ยงถามรวมในใบเดียว การตั้งจิตอธิษฐานควรเลือกถามทีละปัญหา เมื่อถามเสร็จเขย่าเสี่ยงเซียมซีทีหนึ่ง แต่ละเรื่องได้หมายเลขอะไรก็ไปอ่านใบเซียมซีเฉพาะเรื่องนั้นๆ

3. หากคำทำนายของท่านออกมาไม่ดี ให้ท่านหยิบ "ไม้ปวย"  (ไม้สีแดงรูปพระจันทร์เสื้ยวสองอัน) มาประกบกันแล้วโยน เพื่อเป็นการยืนยันคำทำนายหมายเลขเซียมซีที่ท่านเสี่ยงว่าจะเป็นจริงหรือไม่
  •  ไม้ปวยออกมาคว่ำเหมือนกัน หมายถึง เคราะห์ร้ายนั้นจะไม่เกิดผล ก็ไม่ต้องเสี่ยงเซียมซีใหม่อีกครั้ง
  • ไม้ปวยหงายเหมือนกัน หมายถึง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้โอกาสเราเสี่ยงคำทำนายใหม่ (ประมาณว่าท่านจะให้ความช่วยเหลืออีกรอบ) เมื่อได้เช่นนั้นแล้วก็ให้ท่านเสี่ยงเซียมซีอีกรอบ หากได้ใบดี  นั้นแสดงว่าเทพเบื้องบน ให้ความช่วยเหลือท่านให้พ้นเคราะห์ แต่ถ้าได้ใบไม่ดีนั้นย่อมแสดงว่า ท่านหลีก กรรมไม่พ้น
  • ไม้ปวยออกมาคว่ำอัน หงายอัน นั้นหมายความว่า สวรรค์เบื้องบนไม่ยอมเปิดโอกาสให้ท่านแก้ไขเคราะห์กรรมนั้นๆ
4. ถ้าบทสรุปของใบเซียมซีออกมาดี ให้ท่านนำใบเซียมซีนั้นกลับไปบูซาไว้บนหิ้งพระที่บ้านก่อน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเสี่ยงเซียมซีแล้วได้ใบไม่ดี แม้จะโยนไม้ปวยแล้วก็แก้ไขไม่ได้ ก่อนกลับบ้านให้ท่านเอาใบเซียมซีนั้นไปฝากกับต้นไม้ให้รับเคราะห์แทนทาน

อีกวิธีหนึ่งคือ การไปเติมน้ำมันในตะเกียงเพื่อสะเดาะเคราะห์ เมื่อท่านเติมเสร็จก็ให้นำใบเซียมซีที่ไม่ดีนั้นไปเผาทิ้งเสีย เนื่องด้วยคนจีนมีความเชื่อว่าธาตุไฟเป็นสิ่งมงคล สามารถทำลายสิ่งอัปมงคลทั้งปวงได้